วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ชลอการหงอกก่อนวัยได้อย่างไร


การรับประทานอาหารซึ่งมีวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อเส้นผมและหนังศีรษะ จะช่วยชะลอการหงอกของผมได้ เช่น

               -ทองแดง พบมากในถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา เมล็ดทานตะวัน ลูกเกด ลูกพลับ กล้วยตาก แครอท หัวไชเท้า เผือก มัน ผลไม้สดทุกชนิด

-ไอโอดีน พบมากในอาหารทะเลทุกชนิด และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือไอโอดีน

-เหล็ก มีมากในปลา ลูกเกด ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตำลึง กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักพื้นบ้าน เช่น มะเขือพวง ใบชะพลู ผักโขมหนาม และผักกูด

-กรดโฟลิก พบมากในถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักบุ้ง กวางตุ้ง แครอท ฟักทอง ไข่แดง และตับ

-กรดแพนโทเทนิก หรือวิตามินบี 5 พบมากในข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด แอ๊ปเปิ้ล

-พาบา อยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม ซึ่งเป็นวิตามินเทียมที่ละลายในน้ำ พบมากในจมูกข้าวสาลี ข้าวกล้อง โยเกิร์ต และผักใบเขียว

-ไบโอติน เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีคอมเพล็กซ์ พบมากในอาหารจำพวกถั่วเหลือง และซีเรียล

               สำหรับสมุนไพรช่วยชะลอผมหงอกที่มีการใช้ภายนอก เช่น น้ำคั้นใบย่านาง วุ้นว่านหางจระเข้ น้ำคั้นบัวบก และกะเม็ง เป็นต้น


จัดส่ง คุณศักดา พิดโลก





 

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สมุนไพรที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย testosterone

 สมุนไพรที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย testosterone ในสัตว์ทดลอง ได้แก่ มะระขี้นก เกากี่ฉ่าย ผักปลังขาว ตำลึง เป็นต้น ส่วนสมุนไพรที่มีการศึกษาทางคลินิกโดยพบว่ามีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศดีขึ้น หรือมีผลเพิ่มฮอร์โมน testosterone ได้แก่ ปลาไหลเผือก โสมเกาหลี แป๊ะก๊วย หญ้าฝรั่น ทับทิม กวาวเครือแดง เห็ดหลินจือ หนามกระสุน และหอมหัวใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่รายงานว่าใช้ได้ผลดี แต่เนื่องจากงานวิจัยยังมีน้อย ทำให้ยังขาดเรื่องขนาดและวิธีการรับประทานที่เหมาะสม รวมทั้งเรื่องความปลอดภัยด้วย




กลไกการออกฤทธิ์ของตำลึง

  ข้อมูลจาการใช้ตามสรรพคุณแผนโบราณ และรายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่สำนักงานเก็บรวบรวมไว้ ไม่พบว่าตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย แต่การทานแล้วถ่ายได้ อาจเพราะเป็นผัก ซึ่งมี fiber เมื่อทานมากๆ จะช่วยทำให้ถ่ายได้ แต่การที่ถ่ายแล้วท้องเสีย ไม่น่าจะมาจากตำลึง อาจมีการปนเปื้อน หรือล้างไม่สะอาดมากกว่า


รากตำลึง จัดส่ง

 มาจากช็อปปี้