💕“รากตำลึง”..ฉายา “ไวอากร้าเมืองไทย” และ “โสมไทย”
✍️บรรจุซองชา 100 ซอง 490 บาท
✍️ราคาแบบแห้ง 450 บาท/กก
✍️ราคาแบบบด 500 บาท/กก
✍️ราคา แบบแคปซูล 200 เม็ด 490บาท
(ทุกรายการ ส่งฟรี) โทร+ไลน์ 0809898770
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดจากส่วนต่างๆ ของตำลึง ได้แก่ ใบ ผล เถา ส่วนเหนือดิน และราก มีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่ายาแผนปัจจุบัน โดยสารสกัดตำลึงมีฤทธิ์กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ เพิ่มระดับอินซูลิน ทำให้มีการสังเคราะห์ไกลโคเจนเพิ่มขึ้น และลดการเปลี่ยนไกลโคเจนมาเป็นกลูโคสเป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น (ระดับน้ำตาลในเลือด 110-180 มก. /ดล.) ซึ่งได้รับสารสกัด 50% อัลกอฮอล์จากใบและผล ขนาด 1 ก./วัน เป็นเวลา 90 วัน พบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting blood glucose) และหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง (post-prandial blood glucose) ลดลงร้อยละ 16 และ 18 ตามลำดับ และยังมีผลลดน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) แต่ไม่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด และไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย เมื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานยาเม็ดผงแห้งจากใบตำลึง ครั้งละ 3 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test) โดยให้กลูโคส 50 ก. วัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังทำการทดสอบ พบว่าผู้ป่วยมีความทนต่อกลูโคสดีขึ้น และไม่พบความผิดปกติของน้ำหนักตัว ค่าทางโลหิตวิทยา เอนไซม์แอสพาร์เทตทรานส์อะมิเนส (aspartate transaminase) อะลานีนทรานส์อะมิเนส (ala-nine transaminase) ยูเรีย และไตของผู้ป่วย และในผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานสารสกัดจากตำลึง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้และตัวทำละลาย) ขนาด 500 มก./กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดมีผลลดระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายกลูโคส ได้แก่ กลูโคส-6-ฟอสฟาเตส (glucose-6-phosphatase) และแลกเตตดีไฮโดรจิเนส (lactate dehydrogenase) และเพิ่มระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายไขมัน คือ ลิโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase) แสดงว่าสารสกัดจากตำลึงทำหน้าที่คล้ายกับอินซูลินในยับยั้งการสร้างน้ำตาลและกระตุ้นการสลายไขมัน ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยได้
นอกจากนี้งานวิจัยในสัตว์ทดลองที่ประเทศอินเดีย พบว่า สารสกัดน้ำ สารสกัดแอลกอฮอล์ และผงแห้งบดของใบและเถาตำลึง แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนูปกติ หนูที่อดอาหาร และหนูที่เป็นเบาหวานเนื่องจากได้รับสาร streptozotocin (STZ) เมื่อหนูที่เป็นเบาหวานดังกล่าวได้รับสารสกัดเอทานอลใบตำลึง ๒๐๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ติดต่อกัน ๔๕ วัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงระดับอินซูลินเพิ่มขึ้น เพิ่มการออกซิเดชันของกลูโคสในตับและเม็ดเลือดแดง ลดกลูโคนีโอเจเนซิสระดับไขมันและกรดไขมันในเลือดลดลง มีปริมาณวิตามินซีในพลาสมาเพิ่มขึ้น มีปริมาณเอนไซม์กำจัดสารพิษเพิ่มขึ้นทั้งกลูตาไทโอนเปอร์ออกซิเดส และกลูตาไทโอน เอส ทรานสเฟอเรส งานวิจัยชิ้นอื่น พบว่า ผงแห้งบดของใบและเถาตำลึงแสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ทั้งในสุนัขปกติและสุนัขเบาหวาน สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของรากตำลึง แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในกระต่ายปกติ สารสกัดแอลกอฮอล์ที่ 250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูที่อดอาหาร นอกจากนี้ สารเพ็กทิน จากผลตำลึงที่ 200 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมในหนู ปกติแสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ ไกลโคเจนซินทีเตส และเพิ่มปริมาณไกลโคเจนในตับ
และ ปี พ.ศ. 2546 ทีมผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืชอาหารและสมุนไพรที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าตำลึง และโสมอเมริกันเป็นพืชที่มีข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพด้านนี้ดีที่สุด การทดลองทางคลินิก (แบบ double-blind ขนานกัน 2 กลุ่ม) ในประเทศบังกลาเทศพบว่า เมื่อให้ผงแช่แข็งแห้งของใบตำลึงวันละ 1.8 กรัมกับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด 2 นาน 6 เดือนประกอบกับการควบคุมอาหาร พบว่า ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting plasma glucose) ของกลุ่มผู้ป่วยลดลง จาก 178.8 เป็น 122.1 และค่าน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม (random plasma glucose) จาก 245.4เป็น 186.9 โดยกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเช่นนี้
ฤทธิ์แก้ปวด เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 25, 50, 100, 200 และ 300 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ปวดด้วยวิธี tail flick test เปรียบเทียบผลกับมอร์ฟีน ขนาด 2 มก./กก. และยาไอบูโปรเฟน (ibuprofen) ขนาด 20 มก./กก. พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์แก้ปวดได้ โดยที่ขนาด 300 มก./กก. จะมีฤทธิ์ดีใกล้เคียงกับมอร์ฟีน สารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 1 ก./กก. ผงน้ำคั้นจากผลสด ขนาด 50-200 มก./กก. มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยวิธี acetic acid-induced writhing tail flick test และด้วยเครื่อง analgesy meter
ฤทธิ์ต่อการฝังตัวของตัวอ่อน การศึกษาในหนูแรทเพศเมียน้ำหนัก 200-250 กรัม ที่เหนี่ยวนำให้มีโปรแลคติน (prolactin) ในเลือดสูง (hyperprolactinemia) หรือเหนี่ยวนำให้มีฮอร์โมนเพศชาย หรือเหนี่ยวนำให้เป็นโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) ซึ่งทำให้มีลูกยาก แบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมป้อนน้ำเกลือ (normal saline) 1 มล./กก. กลุ่มที่ 2 ป้อนยาแผนปัจจุบัน bromocriptine เพื่อกระตุ้นให้ไข่ตก ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการหลั่งฮอร์โมน prolactin ขนาด 30 มก./กก. หรือยา clomiphene citrate ที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้ไข่ตกแต่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือยา danazol ซึ่งเป็นยารักษาโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ กลุ่มที่ 3 และ 4 เป็นกลุ่มที่ป้อนสารสกัดน้ำของตำลึงขนาด 500 มล./กก. (ขนาดต่ำ) และ 1,000 มล./กก. (ขนาดสูง) ตามลำดับ ทำการศึกษาทั้งสิ้นนาน 3 รอบของการมีรอบเดือน พบว่าหนูแรทที่ได้รับยาแผนปัจจุบัน bromocriptine และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำของตำลึงขนาดสูง 1,000 มล./กก. จำนวนครั้งการฝังตัวที่มดลูกเท่ากับ 6.4 ? 1.94 และ 6.0 ? 0.75 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ 0.6 ? 0.4 ส่วนกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำของตำลึงขนาดต่ำ 500 มล./กก. จำนวนครั้งการฝังตัวที่มดลูกเท่ากับ 5.0 ? 0.70 ซึ่งได้ผลน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน และสารสกัดน้ำตำลึงขนาดสูง นอกจากนี้สารสกัดน้ำตำลึงขนาดสูงมีฤทธิ์เพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำตำลึงขนาดต่ำ และกลุ่มที่ได้รับยาแผนปัจจุบัน clomiphene citrate ซึ่งสารสกัดน้ำตำลึงทั้งสองขนาดไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และไม่มีผลต่อความหนาของมดลูกและเยื่อบุมดลูก ส่วนการศึกษาในหนูแรทที่ได้รับยา danazol พบว่าทั้งยา danazol และสารสกัดตำลึงทั้งสองขนาดลดการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูกเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดน้ำของตำลึงขนาดสูง 1,000 มล./กก. มีผลช่วยให้มีการเพิ่มการฝังตัวที่มดลูกเป็นการรักษาการมีลูกยากในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้มีโปรแลคตินในเลืดสูงได้ โดยไปเพิ่มจำนวนครั้งการฝังตัวของมดลูก เพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ไม่ได้ผลช่วยในการฝังตัวที่มดลูกในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ endometriosis หรือเหนี่ยวนำให้มีฮอร์โมนเพศชาย
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากใบและเถาตำลึง ขนาด 50, 100และ 200 มก./กก. ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วย 1% ฟอร์มาลดีไฮด์ เปรียบเทียบกับยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) ขนาด 10 มก./กก. พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ โดยที่สารสกัดน้ำจากใบมีฤทธิ์ดีที่สุด เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 25, 50, 100, 200 และ 300 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูแรทก่อนและหลังเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน เปรียบเทียบผลกับยาไดโคลฟีแนค (diclofenac) ขนาด 20 มก./กก. พบว่าการให้สารสกัดก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบสามารถลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้ โดยสารสกัดที่ขนาด 50 มก./กก. จะให้ผลดีที่สุดและเทียบเท่ากับยาไดโคลฟีแนค สำหรับการให้สารสกัดหลังเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ พบว่าสารสกัดทุกขนาด ยกเว้นขนาด 25 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เช่นกัน แต่มีบางงานวิจัยที่พบว่าการป้อนสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 1 ก./กก. ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรท นอกจากนี้มีรายงานว่าผงน้ำคั้นจากผลสด ขนาด 50-200 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนนและฮิสตามีน
สารสกัดอัลกอฮอล์จากใบ ขนาด 1, 2.5, 10 และ 20 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนนได้ แต่มีฤทธิ์น้อยกว่ายาเพรดนิโซโลน (prednisolone) ขนาด 5 และ 10 มก./กก. และตำรับครีมที่มีสารสกัดเดียวกันนี้ผสมอยู่ 2% ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือลดรอยแดงจากยุงกัดในอาสาสมัคร จำนวน 5 คน เมื่อเทียบกับครีมเบส
การศึกษาทางพิษวิทยา
การทดสอบความเป็นพิษ สารสกัด 50% เอทานอลจากทั้งต้นขนาด 10 ก./กก. ไม่ทำให้เกิดพิษเมื่อป้อนทางสายยางสู่กระเพาะอาหารหรือฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร และเมื่อฉีดสารสกัดเดียวกันนี้เข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าขนาดต่ำสุดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 750 มก./กก.
..............
รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้
แก้พิษคันจากใบไม้คันหรือหนอนคัน (ตัวบุ้ง) โดยนำใบตำลึงสดสัก ๔-๕ ใบ มาขยี้ เอาน้ำชโลมหรือทาบริเวณที่คัน หรือใช้ใบสด 1 กำมือ (ใช้มากน้อยตามบริเวณที่มีอาการ) ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยแล้วคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
แก้เริม งูสวัด ให้ใช้ใบตำลึงล้างน้ำต้มสุกให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำผสมดินสอพอง สะตุ (เผาจนสุก) ทาผิวบริเวณที่เป็นให้เปียกชื้นอยู่เสมอ อาการแสบร้อนจะทุเลาลง แต่หากทาแล้วไม่รู้สึกเย็น ก็แปลว่ายาไม่ถูกโรคให้เลิกใช้
ยอด เถา ใบ และราก ตำคั้นน้ำดื่มแก้หลอดลมอักเสบ
ลิ้นเจ็บ ลิ้นเป็นแผล ให้เคี้ยวผลตำลึงอ่อนจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บแสบจากแผลได้
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เถาแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากผลดิบ นำมาดื่มวันละ 2 รอบ เช้า,เย็น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เถาตำลึงชงกับน้ำดื่ม
แก้อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ด้วยการใช้เถาตำลึง นำน้ำต้มจากเถามาหยอดตา หรือตัดเถาเป็นท่อนยาว 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำแล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
แก้อาการผิดสำแดงเพราะกินของแสลง โดยใช้เถาตำลึงตัดเป็นท่อน 3-4 ท่อนโดยแต่ละท่อน ยาว 1 คืบ นำไปใส่ในหม้อดินสุมไฟ จนไหม้เป็นขี้เถ้า นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำซาวข้าวดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (เถา)
ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการรับประทานใบตำลึงสด ๆ
ใช้รักษาแผลอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล
ช่วยแก้หิด ด้วยการใช้เมล็ดตำผสมน้ำมันมะพร้าวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น
................
อกสารอ้างอิง
นันทวัน บุณยะประภัศร อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 2. กรุงเทพฯ:บริษัท ประชาชน จำกัด, 2541:640 หน้า
เดชา ศิริภัทร.ตำลึง.ผักพื้นบ้านที่รู้คุณค่าได้จากชื่อ.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 191.มีนาคม 2538
อรัญญา ศรีบุศราคัม.ตำลึง.ผักสวนครัวลดเบาหวาน.รอบรู้เรื่องสมุนไพร.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.ผักพื้นบ้าน.ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2538
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544.
รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ.ผักตำลึง.อาหารสมุนไพรริมรั้ว.คอลัมน์บทความพิเศษ.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่330.ตุลาคม2549
สุวดี แซ่เฮง โสวรส โรจน์สุธี. การหาปริมาณวิตามินเคในผักพื้นบ้าน. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ม. มหิดล, 2007
พร้อมจิต.ศรลัมน์.แกงเลียง.อาหารเด็ดของคนไทย.จุลสารข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.ปีที่30ฉบับที่3.เมษายน2556
ผลของตำลึงต่อการตั้งครรภ์ในหนูแรทเพศเมียที่ทำให้เกิดภาวะตั้งครรภ์ยาก.ข่าวความเคลื่อนไหว.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ตำลึง.ฐานข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสริมเกียรติ บ้วนวงศ์ อดิศักดิ์ แซ่ลี้ เพ็ญโฉม พึ่งวิชา ยุวดี วงษ์กระจ่าง. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและบำบัดอาการเบาหวานของตำลึง. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม. มหิดล, 1985.
ถวัลย์ จรดล บัณฑิต ธีราธร บุญเจือ ธรณินทร์. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำสกัดเถาตำลึง. สารศิริราช 2515;24(6):934-40.
Munasinghe MAAK, Abeysena C, Yaddehige IS, Vidanapathirana T, Piyuma KPB. Blood sugar lowering effect of Coccinia grandis (L.) J. Voigt: Path for a new drug for diabetes mellitus. Experimental Diabetes Research 2011; Article ID 978762, 4 pages.
Hossain MZ, Shibib BA, Rahman R. Hypoglycemic effects of Coccinia indica: inhibition of key gluconeogenic enzyme, glucose-6-phosphatase. Indian J Exp Biol 1992;30(5):418-20.
Singh N, Singh P, Vrat S, Misra N, Dixit KS, Kohll RP. A study on the anti-diabetic activity of Coccinia indica in dogs. Indian J Med Sci 1985;39:27-9, 42.
Vaishnav MM, Gupta KR. A new saponin from Coccinia indica roots. Fitoterapia 1995; 66(6):546-7
Rao GMM, Rao CV, Sudhakara M, Pandey MM, Rawat AKS, Sirwaikar A, et al. Anti-inflam-matory and antinociceptive activities of “Coccinia indica W.&A.” fruit juice powder in animals. Nat Prod Sci 2004;10(1):20-3.
Sungpuag P. Food sources of b-carotene and their vitamin A activity. Mahidol university annual research abstracts and bibliography of non-formal publication 1991;19:535.
Deokate UA, Khadabadi SS. Pharmacology and phytochemistry of Coccinia indica. Journal of Pharmacognosy and Phytotherapy 2011;3(11):155-9
Niazi J, Singh P, Bansal Y, Goel RK. Anti-inflammatory, analgesic and antipyretic activity of aqueous extract of fresh leaves of Coccinia indica. Inflammopharmacol 2009;17:239-44.
Bajpai A, Ojha JK, Sant HR. Medicobotany of the Varanasi district. Int J Pharmacog 1995;33(2):172-6.
Mueller-Oerlinghausen B, Ngamwathana W, Kanchanapee P. Investigation into Thai medicinal plants said to cure diabetes. J Med Ass Thailand 1971;54(2):104-11.
Bhakuni DS, Srivastava SN, Sharma VN, Kaul KN. Chemical examination of the fruits of Coccinia indica. J Sci Ind Res (India) 1962;21B:237-8.
Tangsucharit P, Kukongviriyapan V, Kukongviriyapan U, Airarat W. Screening for analgesic and anti-inflammatory activities of extracts from local vegetables in the northeast of Thailand. Srinagarind Med J 2006;21(4):305-10.
Anon. Treatment of diabetes mellitus with Coccinia indica. Idma Bull 1980;11:229-30.
Mallick C, Mandal S, Barik B, Bhattacharya A, Ghosh D. Protection of testicular dysfunc-tions by MTEC, a formulated herbal drug in streptozotocin induced diabetic rat. Biol Pharm Bull 2007;30(1):84-90.
Mukherjee K, Ghosh NC, Datta T. Coccinia indica Linn. as potential hypoglycaemic agent. Indian J Exp Biol 1972;10(9):347-9
Vaishnav MM, Jain P, Jogi SR, Gupta KR. Coccinioside-k, triterpenoid saponin from Coccinia indica. Oriental J Chem 2001;17(3):465-8.
Nagaraju N, Rao KN. A survey of plant crude drugs of Rayalaseema, Andhra pradesh, India. J Ethnopharmacol 1990;29(2):137-58
Chanwitheesuk A, Teerawutgulrag A, Rakariyatham N. Screening of antioxidant activity and antioxidant compounds of some edible plants of Thailand. Food Chem 2005; 92(3):491- 7.
Azad KAK, Akhtar S, Mahtab H. Coccinia indica in the treatment of patients with diabetes mellitus. Bangladesh Med Res Council Bull 1979;5(2):60-6.
Siddiqui IA, Osman SM, Sabbaram MR, Achaya KT. Fatty acid components of seed fats from four plant families. J Oil Technol Ass India 1973;5(1):8-9
Guha J, Sen SP. The cucurbitacins-a review. Plant Biochem J 1975;2: 127.
Khan azad AK, Akhtar S, Mantab H. Treatment of diabetes mellitus with Coccinia indica. Brit Med J 1980;280:1044.
Singh G, Gupta P, Rawat P, Puri A, Bhatia G, Maurya R. Antidyslipidemic activity of polyprenol from Coccinia grandis in high-fat diet-fed hamster model. Phytomedicine 2007;14(12):792-8.
Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P. Study on toxicity of Thai medicinal plants. Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.
Leelapornpissid P, Manosroi A, Sajawatee P, Chaikul P, Nopsiri V, Manosroi J. Anti-inflam-matory activity of extract from leaves of Coccinia grandis (tum-loeng), formulation and evaluation of cream preparation containing the extract. 16th Annual Symposium of Health Science, Chiang Mai, August 1998:270.
Kumar GP, Sudheesh S, Vijayalakshmi NR. Hypoglycaemic effect of Coccinia indica: mechanism of action. Planta Med 1993;59(4):330-2.
Deshpande SV, Patil MJ, Daswadkar SC, Suralkar U, Agarwal A. A study on anti-inflamma-tory activity of the leaf and stem extracts of Coccinia grandis L. Voigt. IJABPT 2011;2(3): 247-50.
✍️บรรจุซองชา 100 ซอง 490 บาท
✍️ราคาแบบแห้ง 450 บาท/กก
✍️ราคาแบบบด 500 บาท/กก
✍️ราคา แบบแคปซูล 200 เม็ด 490บาท
(ทุกรายการ ส่งฟรี) โทร+ไลน์ 0809898770
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดจากส่วนต่างๆ ของตำลึง ได้แก่ ใบ ผล เถา ส่วนเหนือดิน และราก มีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่ายาแผนปัจจุบัน โดยสารสกัดตำลึงมีฤทธิ์กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ เพิ่มระดับอินซูลิน ทำให้มีการสังเคราะห์ไกลโคเจนเพิ่มขึ้น และลดการเปลี่ยนไกลโคเจนมาเป็นกลูโคสเป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น (ระดับน้ำตาลในเลือด 110-180 มก. /ดล.) ซึ่งได้รับสารสกัด 50% อัลกอฮอล์จากใบและผล ขนาด 1 ก./วัน เป็นเวลา 90 วัน พบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting blood glucose) และหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง (post-prandial blood glucose) ลดลงร้อยละ 16 และ 18 ตามลำดับ และยังมีผลลดน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) แต่ไม่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด และไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย เมื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานยาเม็ดผงแห้งจากใบตำลึง ครั้งละ 3 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test) โดยให้กลูโคส 50 ก. วัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังทำการทดสอบ พบว่าผู้ป่วยมีความทนต่อกลูโคสดีขึ้น และไม่พบความผิดปกติของน้ำหนักตัว ค่าทางโลหิตวิทยา เอนไซม์แอสพาร์เทตทรานส์อะมิเนส (aspartate transaminase) อะลานีนทรานส์อะมิเนส (ala-nine transaminase) ยูเรีย และไตของผู้ป่วย และในผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานสารสกัดจากตำลึง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้และตัวทำละลาย) ขนาด 500 มก./กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดมีผลลดระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายกลูโคส ได้แก่ กลูโคส-6-ฟอสฟาเตส (glucose-6-phosphatase) และแลกเตตดีไฮโดรจิเนส (lactate dehydrogenase) และเพิ่มระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายไขมัน คือ ลิโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase) แสดงว่าสารสกัดจากตำลึงทำหน้าที่คล้ายกับอินซูลินในยับยั้งการสร้างน้ำตาลและกระตุ้นการสลายไขมัน ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยได้
นอกจากนี้งานวิจัยในสัตว์ทดลองที่ประเทศอินเดีย พบว่า สารสกัดน้ำ สารสกัดแอลกอฮอล์ และผงแห้งบดของใบและเถาตำลึง แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนูปกติ หนูที่อดอาหาร และหนูที่เป็นเบาหวานเนื่องจากได้รับสาร streptozotocin (STZ) เมื่อหนูที่เป็นเบาหวานดังกล่าวได้รับสารสกัดเอทานอลใบตำลึง ๒๐๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ติดต่อกัน ๔๕ วัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงระดับอินซูลินเพิ่มขึ้น เพิ่มการออกซิเดชันของกลูโคสในตับและเม็ดเลือดแดง ลดกลูโคนีโอเจเนซิสระดับไขมันและกรดไขมันในเลือดลดลง มีปริมาณวิตามินซีในพลาสมาเพิ่มขึ้น มีปริมาณเอนไซม์กำจัดสารพิษเพิ่มขึ้นทั้งกลูตาไทโอนเปอร์ออกซิเดส และกลูตาไทโอน เอส ทรานสเฟอเรส งานวิจัยชิ้นอื่น พบว่า ผงแห้งบดของใบและเถาตำลึงแสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ทั้งในสุนัขปกติและสุนัขเบาหวาน สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของรากตำลึง แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในกระต่ายปกติ สารสกัดแอลกอฮอล์ที่ 250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูที่อดอาหาร นอกจากนี้ สารเพ็กทิน จากผลตำลึงที่ 200 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมในหนู ปกติแสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ ไกลโคเจนซินทีเตส และเพิ่มปริมาณไกลโคเจนในตับ
และ ปี พ.ศ. 2546 ทีมผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืชอาหารและสมุนไพรที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าตำลึง และโสมอเมริกันเป็นพืชที่มีข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพด้านนี้ดีที่สุด การทดลองทางคลินิก (แบบ double-blind ขนานกัน 2 กลุ่ม) ในประเทศบังกลาเทศพบว่า เมื่อให้ผงแช่แข็งแห้งของใบตำลึงวันละ 1.8 กรัมกับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด 2 นาน 6 เดือนประกอบกับการควบคุมอาหาร พบว่า ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting plasma glucose) ของกลุ่มผู้ป่วยลดลง จาก 178.8 เป็น 122.1 และค่าน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม (random plasma glucose) จาก 245.4เป็น 186.9 โดยกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเช่นนี้
ฤทธิ์แก้ปวด เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 25, 50, 100, 200 และ 300 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ปวดด้วยวิธี tail flick test เปรียบเทียบผลกับมอร์ฟีน ขนาด 2 มก./กก. และยาไอบูโปรเฟน (ibuprofen) ขนาด 20 มก./กก. พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์แก้ปวดได้ โดยที่ขนาด 300 มก./กก. จะมีฤทธิ์ดีใกล้เคียงกับมอร์ฟีน สารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 1 ก./กก. ผงน้ำคั้นจากผลสด ขนาด 50-200 มก./กก. มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยวิธี acetic acid-induced writhing tail flick test และด้วยเครื่อง analgesy meter
ฤทธิ์ต่อการฝังตัวของตัวอ่อน การศึกษาในหนูแรทเพศเมียน้ำหนัก 200-250 กรัม ที่เหนี่ยวนำให้มีโปรแลคติน (prolactin) ในเลือดสูง (hyperprolactinemia) หรือเหนี่ยวนำให้มีฮอร์โมนเพศชาย หรือเหนี่ยวนำให้เป็นโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) ซึ่งทำให้มีลูกยาก แบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมป้อนน้ำเกลือ (normal saline) 1 มล./กก. กลุ่มที่ 2 ป้อนยาแผนปัจจุบัน bromocriptine เพื่อกระตุ้นให้ไข่ตก ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการหลั่งฮอร์โมน prolactin ขนาด 30 มก./กก. หรือยา clomiphene citrate ที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้ไข่ตกแต่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือยา danazol ซึ่งเป็นยารักษาโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ กลุ่มที่ 3 และ 4 เป็นกลุ่มที่ป้อนสารสกัดน้ำของตำลึงขนาด 500 มล./กก. (ขนาดต่ำ) และ 1,000 มล./กก. (ขนาดสูง) ตามลำดับ ทำการศึกษาทั้งสิ้นนาน 3 รอบของการมีรอบเดือน พบว่าหนูแรทที่ได้รับยาแผนปัจจุบัน bromocriptine และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำของตำลึงขนาดสูง 1,000 มล./กก. จำนวนครั้งการฝังตัวที่มดลูกเท่ากับ 6.4 ? 1.94 และ 6.0 ? 0.75 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ 0.6 ? 0.4 ส่วนกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำของตำลึงขนาดต่ำ 500 มล./กก. จำนวนครั้งการฝังตัวที่มดลูกเท่ากับ 5.0 ? 0.70 ซึ่งได้ผลน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน และสารสกัดน้ำตำลึงขนาดสูง นอกจากนี้สารสกัดน้ำตำลึงขนาดสูงมีฤทธิ์เพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำตำลึงขนาดต่ำ และกลุ่มที่ได้รับยาแผนปัจจุบัน clomiphene citrate ซึ่งสารสกัดน้ำตำลึงทั้งสองขนาดไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และไม่มีผลต่อความหนาของมดลูกและเยื่อบุมดลูก ส่วนการศึกษาในหนูแรทที่ได้รับยา danazol พบว่าทั้งยา danazol และสารสกัดตำลึงทั้งสองขนาดลดการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูกเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดน้ำของตำลึงขนาดสูง 1,000 มล./กก. มีผลช่วยให้มีการเพิ่มการฝังตัวที่มดลูกเป็นการรักษาการมีลูกยากในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้มีโปรแลคตินในเลืดสูงได้ โดยไปเพิ่มจำนวนครั้งการฝังตัวของมดลูก เพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ไม่ได้ผลช่วยในการฝังตัวที่มดลูกในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ endometriosis หรือเหนี่ยวนำให้มีฮอร์โมนเพศชาย
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากใบและเถาตำลึง ขนาด 50, 100และ 200 มก./กก. ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วย 1% ฟอร์มาลดีไฮด์ เปรียบเทียบกับยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) ขนาด 10 มก./กก. พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ โดยที่สารสกัดน้ำจากใบมีฤทธิ์ดีที่สุด เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 25, 50, 100, 200 และ 300 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูแรทก่อนและหลังเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน เปรียบเทียบผลกับยาไดโคลฟีแนค (diclofenac) ขนาด 20 มก./กก. พบว่าการให้สารสกัดก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบสามารถลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้ โดยสารสกัดที่ขนาด 50 มก./กก. จะให้ผลดีที่สุดและเทียบเท่ากับยาไดโคลฟีแนค สำหรับการให้สารสกัดหลังเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ พบว่าสารสกัดทุกขนาด ยกเว้นขนาด 25 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เช่นกัน แต่มีบางงานวิจัยที่พบว่าการป้อนสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 1 ก./กก. ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรท นอกจากนี้มีรายงานว่าผงน้ำคั้นจากผลสด ขนาด 50-200 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนนและฮิสตามีน
สารสกัดอัลกอฮอล์จากใบ ขนาด 1, 2.5, 10 และ 20 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนนได้ แต่มีฤทธิ์น้อยกว่ายาเพรดนิโซโลน (prednisolone) ขนาด 5 และ 10 มก./กก. และตำรับครีมที่มีสารสกัดเดียวกันนี้ผสมอยู่ 2% ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือลดรอยแดงจากยุงกัดในอาสาสมัคร จำนวน 5 คน เมื่อเทียบกับครีมเบส
การศึกษาทางพิษวิทยา
การทดสอบความเป็นพิษ สารสกัด 50% เอทานอลจากทั้งต้นขนาด 10 ก./กก. ไม่ทำให้เกิดพิษเมื่อป้อนทางสายยางสู่กระเพาะอาหารหรือฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร และเมื่อฉีดสารสกัดเดียวกันนี้เข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าขนาดต่ำสุดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 750 มก./กก.
..............
รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้
แก้พิษคันจากใบไม้คันหรือหนอนคัน (ตัวบุ้ง) โดยนำใบตำลึงสดสัก ๔-๕ ใบ มาขยี้ เอาน้ำชโลมหรือทาบริเวณที่คัน หรือใช้ใบสด 1 กำมือ (ใช้มากน้อยตามบริเวณที่มีอาการ) ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยแล้วคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
แก้เริม งูสวัด ให้ใช้ใบตำลึงล้างน้ำต้มสุกให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำผสมดินสอพอง สะตุ (เผาจนสุก) ทาผิวบริเวณที่เป็นให้เปียกชื้นอยู่เสมอ อาการแสบร้อนจะทุเลาลง แต่หากทาแล้วไม่รู้สึกเย็น ก็แปลว่ายาไม่ถูกโรคให้เลิกใช้
ยอด เถา ใบ และราก ตำคั้นน้ำดื่มแก้หลอดลมอักเสบ
ลิ้นเจ็บ ลิ้นเป็นแผล ให้เคี้ยวผลตำลึงอ่อนจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บแสบจากแผลได้
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เถาแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากผลดิบ นำมาดื่มวันละ 2 รอบ เช้า,เย็น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เถาตำลึงชงกับน้ำดื่ม
แก้อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ด้วยการใช้เถาตำลึง นำน้ำต้มจากเถามาหยอดตา หรือตัดเถาเป็นท่อนยาว 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำแล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
แก้อาการผิดสำแดงเพราะกินของแสลง โดยใช้เถาตำลึงตัดเป็นท่อน 3-4 ท่อนโดยแต่ละท่อน ยาว 1 คืบ นำไปใส่ในหม้อดินสุมไฟ จนไหม้เป็นขี้เถ้า นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำซาวข้าวดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (เถา)
ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการรับประทานใบตำลึงสด ๆ
ใช้รักษาแผลอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล
ช่วยแก้หิด ด้วยการใช้เมล็ดตำผสมน้ำมันมะพร้าวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น
................
อกสารอ้างอิง
นันทวัน บุณยะประภัศร อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 2. กรุงเทพฯ:บริษัท ประชาชน จำกัด, 2541:640 หน้า
เดชา ศิริภัทร.ตำลึง.ผักพื้นบ้านที่รู้คุณค่าได้จากชื่อ.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 191.มีนาคม 2538
อรัญญา ศรีบุศราคัม.ตำลึง.ผักสวนครัวลดเบาหวาน.รอบรู้เรื่องสมุนไพร.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.ผักพื้นบ้าน.ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2538
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544.
รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ.ผักตำลึง.อาหารสมุนไพรริมรั้ว.คอลัมน์บทความพิเศษ.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่330.ตุลาคม2549
สุวดี แซ่เฮง โสวรส โรจน์สุธี. การหาปริมาณวิตามินเคในผักพื้นบ้าน. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ม. มหิดล, 2007
พร้อมจิต.ศรลัมน์.แกงเลียง.อาหารเด็ดของคนไทย.จุลสารข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.ปีที่30ฉบับที่3.เมษายน2556
ผลของตำลึงต่อการตั้งครรภ์ในหนูแรทเพศเมียที่ทำให้เกิดภาวะตั้งครรภ์ยาก.ข่าวความเคลื่อนไหว.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ตำลึง.ฐานข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสริมเกียรติ บ้วนวงศ์ อดิศักดิ์ แซ่ลี้ เพ็ญโฉม พึ่งวิชา ยุวดี วงษ์กระจ่าง. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและบำบัดอาการเบาหวานของตำลึง. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม. มหิดล, 1985.
ถวัลย์ จรดล บัณฑิต ธีราธร บุญเจือ ธรณินทร์. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำสกัดเถาตำลึง. สารศิริราช 2515;24(6):934-40.
Munasinghe MAAK, Abeysena C, Yaddehige IS, Vidanapathirana T, Piyuma KPB. Blood sugar lowering effect of Coccinia grandis (L.) J. Voigt: Path for a new drug for diabetes mellitus. Experimental Diabetes Research 2011; Article ID 978762, 4 pages.
Hossain MZ, Shibib BA, Rahman R. Hypoglycemic effects of Coccinia indica: inhibition of key gluconeogenic enzyme, glucose-6-phosphatase. Indian J Exp Biol 1992;30(5):418-20.
Singh N, Singh P, Vrat S, Misra N, Dixit KS, Kohll RP. A study on the anti-diabetic activity of Coccinia indica in dogs. Indian J Med Sci 1985;39:27-9, 42.
Vaishnav MM, Gupta KR. A new saponin from Coccinia indica roots. Fitoterapia 1995; 66(6):546-7
Rao GMM, Rao CV, Sudhakara M, Pandey MM, Rawat AKS, Sirwaikar A, et al. Anti-inflam-matory and antinociceptive activities of “Coccinia indica W.&A.” fruit juice powder in animals. Nat Prod Sci 2004;10(1):20-3.
Sungpuag P. Food sources of b-carotene and their vitamin A activity. Mahidol university annual research abstracts and bibliography of non-formal publication 1991;19:535.
Deokate UA, Khadabadi SS. Pharmacology and phytochemistry of Coccinia indica. Journal of Pharmacognosy and Phytotherapy 2011;3(11):155-9
Niazi J, Singh P, Bansal Y, Goel RK. Anti-inflammatory, analgesic and antipyretic activity of aqueous extract of fresh leaves of Coccinia indica. Inflammopharmacol 2009;17:239-44.
Bajpai A, Ojha JK, Sant HR. Medicobotany of the Varanasi district. Int J Pharmacog 1995;33(2):172-6.
Mueller-Oerlinghausen B, Ngamwathana W, Kanchanapee P. Investigation into Thai medicinal plants said to cure diabetes. J Med Ass Thailand 1971;54(2):104-11.
Bhakuni DS, Srivastava SN, Sharma VN, Kaul KN. Chemical examination of the fruits of Coccinia indica. J Sci Ind Res (India) 1962;21B:237-8.
Tangsucharit P, Kukongviriyapan V, Kukongviriyapan U, Airarat W. Screening for analgesic and anti-inflammatory activities of extracts from local vegetables in the northeast of Thailand. Srinagarind Med J 2006;21(4):305-10.
Anon. Treatment of diabetes mellitus with Coccinia indica. Idma Bull 1980;11:229-30.
Mallick C, Mandal S, Barik B, Bhattacharya A, Ghosh D. Protection of testicular dysfunc-tions by MTEC, a formulated herbal drug in streptozotocin induced diabetic rat. Biol Pharm Bull 2007;30(1):84-90.
Mukherjee K, Ghosh NC, Datta T. Coccinia indica Linn. as potential hypoglycaemic agent. Indian J Exp Biol 1972;10(9):347-9
Vaishnav MM, Jain P, Jogi SR, Gupta KR. Coccinioside-k, triterpenoid saponin from Coccinia indica. Oriental J Chem 2001;17(3):465-8.
Nagaraju N, Rao KN. A survey of plant crude drugs of Rayalaseema, Andhra pradesh, India. J Ethnopharmacol 1990;29(2):137-58
Chanwitheesuk A, Teerawutgulrag A, Rakariyatham N. Screening of antioxidant activity and antioxidant compounds of some edible plants of Thailand. Food Chem 2005; 92(3):491- 7.
Azad KAK, Akhtar S, Mahtab H. Coccinia indica in the treatment of patients with diabetes mellitus. Bangladesh Med Res Council Bull 1979;5(2):60-6.
Siddiqui IA, Osman SM, Sabbaram MR, Achaya KT. Fatty acid components of seed fats from four plant families. J Oil Technol Ass India 1973;5(1):8-9
Guha J, Sen SP. The cucurbitacins-a review. Plant Biochem J 1975;2: 127.
Khan azad AK, Akhtar S, Mantab H. Treatment of diabetes mellitus with Coccinia indica. Brit Med J 1980;280:1044.
Singh G, Gupta P, Rawat P, Puri A, Bhatia G, Maurya R. Antidyslipidemic activity of polyprenol from Coccinia grandis in high-fat diet-fed hamster model. Phytomedicine 2007;14(12):792-8.
Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P. Study on toxicity of Thai medicinal plants. Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.
Leelapornpissid P, Manosroi A, Sajawatee P, Chaikul P, Nopsiri V, Manosroi J. Anti-inflam-matory activity of extract from leaves of Coccinia grandis (tum-loeng), formulation and evaluation of cream preparation containing the extract. 16th Annual Symposium of Health Science, Chiang Mai, August 1998:270.
Kumar GP, Sudheesh S, Vijayalakshmi NR. Hypoglycaemic effect of Coccinia indica: mechanism of action. Planta Med 1993;59(4):330-2.
Deshpande SV, Patil MJ, Daswadkar SC, Suralkar U, Agarwal A. A study on anti-inflamma-tory activity of the leaf and stem extracts of Coccinia grandis L. Voigt. IJABPT 2011;2(3): 247-50.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น